พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)

Last updated: 30 มิ.ย. 2563  |  794 จำนวนผู้เข้าชม  | 

พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)

GC จับมือ และส่งมอบ หุ่นยนต์แบ่งปัน

GC จับมือ KMUTNB, VISTEC และ Polyfoam ร่วมมือกันพัฒนา
และส่งมอบ “หุ่นยนต์แบ่งปัน” หรือ หุ่นยนต์ช่วยเหลือทางการแพทย์
ให้แก่คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร คุณบุญชัย ชุณหวิกสิต รักษาการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส กลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีขั้นต้น ดร.ชญาน์ จันทวสุ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารความยั่งยืน และภาพลักษณ์องค์กร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ศ.ดร.สมฤกษ์ จันทรอัมพร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และ ผศ.ดร.เชิดพงษ์ ดีเลิศไพบูลย์ หัวหน้าคณะทำงาน ROBOT เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ร่วมส่งมอบหุ่นยนต์ช่วยเหลือทางการแพทย์ IRAPs SHaRE-aGIVeR (ไอ-ราฟ แชร์-อะ-กิฟ-เวอร์) หรือ หุ่นยนต์แบ่งปัน ให้กับ ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ นายกสภามหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช รศ.นพ.อนันต์ มโนมัยพิบูลย์ อธิบดี มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ณ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัย นวมินทราธิราช การผสานความร่วมมือในวันนี้จากภาคการศึกษา ภาคเอกชน ถือเป็นการทำงานเชิงรุกร่วมกัน และถือเป็นอีกขั้นของความร่วมมือที่มุ่งหวังให้บุคลากรทางการแพทย์ของไทยและคนไทยทุกคนผ่านช่วงวิกฤตการระบาดของไวรัสโควิด-19 และเชื้อโรคต่างๆ ไปด้วยกันอย่างปลอดภัย

สำหรับหุ่นยนต์แบ่งปันนี้ เกิดจากความร่วมมือระหว่าง GC, KMUTNB (ทีมแชมป์โลกหุ่นยนต์กู้ภัย 8 สมัย) VISTEC และ Polyfoam ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อนำไปใช้งานในโรงพยาบาล ซึ่งสามารถช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์ โดย GC ร่วมหาข้อควรปรับปรุงตัวต้นแบบ และ หาทางแก้ไข พัฒนาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของบุคลากรทางการแพทย์ร่วมกับโรงพยาบาล รวมถึงสนับสนุนงบประมาณในการจัดทำหุ่นยนต์แบ่งปัน และในอนาคตจะมีการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ (3D Printing Technology) ด้วยเม็ดพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพเกรดพิเศษ (PLA) เป็นส่วนประกอบของถาดวางเครื่องมือ อาหาร และเวชภัณฑ์ นอกจากนี้ ยังมี สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) เป็นผู้สนับสนุน Software ออกแบบและสร้างระบบ Web Page ที่สามารถบันทึกข้อมูลของคนไข้ ทำให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถสื่อสารกันได้อย่างชัดเจนและไม่ผิดพลาดในการรักษา และกลุ่มบริษัทโปลิโฟม ร่วมออกแบบและสนับสนุนวัสดุในการจัดทำโครงหุ่นยนต์ โดยหุ่นยนต์สามารถส่งสิ่งของ ยา เวชภัณฑ์ อาหาร แฟ้มทะเบียนประวัติคนไข้เวลาเดินตรวจ ฯลฯ ไปยังจุดต่างๆ ที่ได้กำหนดไว้แบบอัตโนมัติ มีความสามารถในการลดความเครียดให้กับผู้ป่วยได้ด้วยการเปิดเพลงหรือเปิดวีดีโอต่างๆ และยังสามารถทำการประชุมทางไกล (Teleconference) ระหว่างคนไข้กับหมอได้อีกด้วย ถือเป็นการเว้นระยะห่าง (Physical Distancing) เพื่อลดการสัมผัสและป้องการการแพร่เชื้อโรคได้อีกทางหนึ่ง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้