Last updated: 26 เม.ย 2563 | 1308 จำนวนผู้เข้าชม |
หลายๆ คนอาจจะรู้ว่าน้ำมันที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้จะต้องขุดมาจากใต้ดิน แล้วนำขึ้นมากลั่นแยกเป็นน้ำมันแต่ละประเภทให้ได้ใช้กัน แต่ใครจะรู้บ้างว่าวันนี้เราสามารถปลูกน้ำมันบนดินได้ แต่กว่าจะมาปลูกน้ำมันบนดินได้ เราได้มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ
จากแนวคิดที่เริ่มด้วยการผลิตผลิตภัณฑ์ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก การผลิตน้ำมันในยุคก่อนที่ผลิตจากโรงกลั่น จะเป็นน้ำมันที่มีน้ำมันจะมีสารตะกั่วผสมอยู่ด้วย ก็พัฒนามาเป็นน้ำมันไร้สารตะกั่วเพื่อลดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม จนกระทั่งพัฒนามาเป็นน้ำมันที่มีส่วนผสมของพืช คือ ไบโอดีเซล และเอทานอล โดยนำมันสำปะหลัง อ้อย และน้ำตาล มาผลิตเป็นเอทานอลเพื่อเติมในน้ำมันเบนซินชนิดต่างๆ ซึ่งในปัจจุบัน เรามีน้ำมันเบนซิน คือ แก๊สโซฮอล์ 91 และ 95 ซึ่งมีส่วนผสมของเอทานอล ร้อยละ 10 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการปลูกพืชพลังงาน หลังจากนั้น ก็มี อี20 ซึ่งมีส่วนผสมของเอทานอล ร้อยละ 20 และ อี85 ที่มีส่วนผสมของเอทานอล ร้อยละ 85 ในขณะที่น้ำมันดีเซล ก็มีการนำปาล์มน้ำมันมาผลิตเป็นไบโอดีเซล ก็เริ่มจากการเติมไบโอดีเซลในสัดส่วน ร้อยละ 3 ในน้ำมันดีเซล ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของน้ำมันดีเซลที่มีพืชพลังงาน จนปัจจุบันเรามี บี7 ที่มีส่วนผสมของไบโอดีเซล ร้อยละ 7 บี10 ที่มีส่วนผสมของไบโอดีเซล ร้อยละ 10 และ บี 20 ที่มีส่วนผสมของไบโอดีเซล ร้อยละ 20
และแน่นอนว่า บริษัทด้านพลังงานอย่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีพันธกิจที่ชัดเจน ในการสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ในราคาที่เป็นธรรม และดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสังคมเป็นหลัก จึงมีนโยบายต่างๆ ออกมาเพื่อสนับสนุนในเรื่องนี้
คุณชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ของ ปตท. บอกว่า “ต่อไปเราจะปลูกน้ำมันบนดิน” ที่มีผลต่อเศรษฐกิจฐานรากด้วยการปลูกน้ำมันบนผืนแผ่นดินไทย โดย ปตท.จะเป็นผู้คิดค้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีส่วนผสมของพืชพลังงานให้มากขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่การผลิตน้ำมันเท่านั้น ยังมีการนำพืชชนิดต่างๆ มาเป็นวัตถุดิบในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีชนิดต่างๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือ Bio Economy มีการนำเอาขยะมาทำเป็นพลังงาน มีผลิตภัณฑ์ที่เป็น Green Product การนำพลาสติกที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) โดยหลายผลิตภัณฑ์สามารถที่จะย่อยสลายได้ทางธรรมชาติ และยังเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ช่วยทำให้เศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศเติบโตขึ้น
“ทั้งนี้ ปตท.พร้อมที่จะตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการนำพืชพลังงานมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันชนิดต่างๆ ให้มากขึ้น โดยมีสถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. ที่ตั้งอยู่ในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีขีดความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดี ราคาประหยัด ด้วยการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ที่จะช่วยส่งเสริมให้มีผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่หลากหลายมากขึ้น” นายชาญศิลป์ กล่าว
เมื่อราคาน้ำมันในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรตกต่ำลง และมีภาวการณ์ล้นตลาด ปตท.ได้ร่วมมือกับรัฐบาลเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้น ทำให้เริ่มมีผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองในทุกด้านเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ล่าสุดทำผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นทางออกของคนที่มีรายได้น้อย โดยร่วมมือกับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ให้สามารถเติม บี20 ที่มีราคาถูกกว่าน้ำมันดีเซล 3 บาท/ลิตร ร่วมมือกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ทดสอบการใช้ บี10 ในรถไฟ
หากรัฐบาลมีนโยบายที่จะทำให้เศรษฐกิจและเกษตรกรดีขึ้น รวมถึงคำนึงถึงการลดภาวะโลกร้อน ปตท. ก็จะเป็นส่วนหนึ่งในการร่มผลักดันให้มากขึ้น โดยเฉพาะการขยายการใช้ บี20 ให้มากขึ้น
ซึ่งทั้งหมดนี้ คือ การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการความยั่งยืน 3 ด้าน (3P) อย่างสมดุล คือ การทำธุรกิจควบคู่กับการดูแลชุมชนและสังคม (People) การอนุรักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Planet) และเป็นฐานความมั่นคงในแก่ภาคเศรษฐกิจและสังคมเติบโตอย่างแข็งแรงและยั่งยืน (Prosperity)
19 ธ.ค. 2567
20 ธ.ค. 2567
21 ธ.ค. 2567
31 ม.ค. 2567